วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่2บทความและสารคดี



Nefertiti and the Lost Dynasty

เนเฟอตีติ อมตะราชินี 






 



นางคือหนึ่งในผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ซึ่งถือกำเนิดในตระกูลสูงศักดิ์ เติบโตเป็นหญิงผู้เลอโฉม ตำนานแห่งความงาม ราชินีเนเฟอตีติ ผู้ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในสามของผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์ มเหสีที่มีชื่อเสียงที่สุดของอียิปต์ แต่บั้นปลายชีวิตของนาง กลับกลายเป็นหนึ่งในปริศนาดำมืดที่ลึกลับที่สุดของอียิปต์โบราณ การค้นหาที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายศัตวรรษจนกระทั่งปัจจุบัน ก็ยังหาคำตอบไม่ได้เลยว่าเหตุใดนางจึงได้หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอยในประวัติศาสตร์ ท่ามกลางผืนทะเลทรายที่กว้างใหญ่ไพศาล อะไรเกิดขึ้นกับนางและราชวงศ์ที่สาบสูญ?










ภาพด้านซ้ายมือเป็นรูปปั้นของเนเฟอตีติขุดพบที่พระราชวังโบราณ ในเมืองอามาน่าประเทศอียิปต์เมื่อปี ค.ศ.1912 (อายุประมาณ 3,200 ปี จากประมาณ 1345 ปีก่อนคริสตกาล) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน รูปปั้นนี้เป็นรูปปั้นที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกรูปหนึ่ง และเป็นหลักฐานสำคัญยิ่งอีกชิ้นหนึ่งที่ทำให้นักประวัติศาสตร์ไม่เคยลังเลเลย ที่จะบอกว่าเนเฟอตีติเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดในประวัติศาสตร์






เครื่องซีทีสแกนเป็นเครื่องมือที่ทันสมัย และดีที่สุดในปัจจุบันสำหรับใช้ตรวจวิเคราะห์มัมมี่ เพราะสามารถให้ข้อมูลสามมิติทั้งภายนอกและภายในของมัมมี่ได้ชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างของมัมมี่ และยังสามารถให้ข้อมูลอวัยวะภายใน อายุ สภาพการเจ็บป่วยและโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย






ตามราชประเพณี ฟาโรห์ต้องสมรสกับพระพี่นางหรือพระน้องนางที่ประสูติจากพระมารดาคนเดียวกันก่อน พระองค์จึงผลัดผ่อนการแต่งงานกับเจ้าหญิงสมันตาไปเรื่อยๆ จนกระทั่งโชคช่วยเมื่อเจ้าหญิงสมันตาสิ้นพระชนม์ลงด้วยโรคร้าย ฟาโรห์อมันโฮเทปที่ 4 จึงรีบอภิเษกสมรสกับเนเฟอตีติโดยเร็วเพื่อไม่ให้พวกนักบวชอามุนมีเวลาคัดค้าน
           






ความรักของทั้งสองได้กลายมาเป็นตำนานรักอมตะ โดยมีบันทึกไว้ในหลักศิลาจารึกของอียิปต์โบราณ
ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่นักบวชนิกายอามุนมีอำนาจมาก จนสามารถเข้าครอบงำการบริหารงานภายในราชสำนักได้ ซึ่งศาสนาดั้งเดิมของอียิปต์ที่นับถือกันมานับพันปีนั้นเป็นการนับถือเทพเจ้าหลายองค์จำนวนมาก แต่ฟาโรห์อมันโฮเทปที่ 4 ทรงศรัทธาในสุริยเทพหรืออาเทนว่าเป็นเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเพียงพระองค์เดียว และให้ความสำคัญในเรื่องของศิลธรรมจรรยา เมตตาธรรม และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการแห่งความเชื่อของมนุษย์ในเรื่องศาสนาที่ก้าวหน้าขึ้นมาอีกก้าวหนึ่ง เนเฟอตีติสนับสนุนความเชื่อมั่นของพระสวามีอย่างแข็งขัน นางเป็นแรงผลักดันและเป็นกำลังใจที่สำคัญในการปฏิวัติความเชื่อและประเพณีการปกครองของอียิปต์เสียใหม่ ซึ่งทำให้พวกนักบวชในนิกายอามุน ซึ่งเคยมีอำนาจและเคยชินกับลาภยศที่เคยได้รับพากันโกรธแค้น และยุยงให้ราษฎรหวั่นวิตกต่อความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น

           



ภาพแกะสลักแสดงให้เห็นเนเฟอตีติทรงรถม้าศึกถืออาวุธสงครามอยู่ในมือ นำกองทัพเข้าต่อสู้กับศัตรูของอียิปต์
 


เมื่อการต่อสู้ระหว่างราชวงศ์กับพวกนักบวชอามุนรุนแรงยิ่งขึ้น ฟาโรห์อมันโฮเทปที่ 4จึงได้ตัดสินใจประกาศห้ามราษฎรบูชาเทพอามุนและเทพอื่นๆ โดยให้บูชาแต่สุรยเทพอาเทนเพียงพระองค์เดียว และยังเปลี่ยนพระนามของตนเองจาก อมันโฮเทพ (แปลว่าเทพอามุนสิงสถิตย์) มาเป็นอัคเคนาเทน (แปลว่ามีสัมพันธภาพอันดีกับเทพอาเทน) ทรงเนรเทศพวกนักบวชอามุนออกไปและย้ายเมืองหลวงจากทีบส์ไปที่อามาน่า และให้ชื่อว่าอัคเคทาเทน เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของอียิปต์ตามความประสงค์ของพระองค์






เพื่อให้การปฏิวัติศาสนา และระบบการเมืองการปกครองของพระองค์ประสบความสำเร็จ ฟาโรห์อัคเคนาเทนจึงทรงย้ายเมืองหลวงจากทีบส์ไปยังอามาน่า เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นใหม่สำหรับสิ่งที่ดีกว่าเดิมทั้งหมดพร้อมกัน










มัมมี่สองร่างที่พบอยู่เคียงกันในสุสาน KV35 มัมมี่ด้านซ้ายคือมัมมี่ที่เรียกกันว่า “สตรีผู้อ่อนวัยกว่า” ส่วนมัมมี่ที่อยู่ด้านขวาคือมัมมี่ที่เรียกกันว่า “สตรีที่สูงวัยกว่า” นักโบราณคดีได้โต้เถียงกันมานานแล้วว่า หนึ่งในมัมมี่ทั้งสองนี้คือพระนางเนเฟอตีติหรือไม่ และถ้าใช่มัมมี่ร่างไหนที่เป็นพระนางเนเฟอตีติ


ในการตรวจพิสูจน์ตามภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้นั้น คณะผู้เชี่ยวชาญได้เริ่มต้นจากลักษณะของเนเฟอตีติที่รู้ชัดเจนคือ เพศหญิง อายุราวสามสิบต้นๆถึงปลายสามสิบ อยู่ในราชวงศ์ที่ 18 ลำคอยาว โหนกแก้มสูง ขากรรไกรรูปเหลี่ยม เป็นแม่ของลูกสาว 6 คน ผลจากซีทีแสกน “สตรีผู้อ่อนวัยกว่า” ในเบื้องต้นให้ผลในทางบวกเพราะขนาดของสะโพกบอกว่ามัมมี่นี้เป็นเพศหญิง ซึ่งน่าจะคลอดลูกมาหลายคนแล้ว ฟันกรามซี่ที่ 3 และลักษณะการเจริญและการสึกกร่อนของกระดูก บอกให้สันนิษฐานได้ว่าอายุอยู่ระหว่าง 22 ถึง40 ปี อย่างมากไม่เกิน 45 ปี ซึ่งเป็นลักษณะเบื้องต้นที่ตรงกับเนเฟอตีติได้ดีทีเดียว ในขณะเดียวกันลักษณะการทำมัมมี่ และผ้าลินินที่ใช้ก็ชี้บอกชัดเจนว่าเป็นมัมมี่ของคนในราชวงศ์ที่ 18 แน่นอน






 

ในการทำมัมมี่ของอียิปต์โบราณนั้น แขนที่เหยียดตรงหมายถึงเจ้าหญิง แต่ถ้าแขนทั้งสองข้างหรือข้างหนึ่งข้างใดไขว้ไว้ที่หน้าอก นั่นเป็นสัญลักษณ์เฉพาะสำหรับองค์ราชินีเท่านั้น



ผลการวิเคราะห์ในขั้นต่อมาพบว่าเหตผลที่ใช้ในการสนับสนุนว่า “สตรีที่อ่อนวัยกว่า” เป็นเนเฟอตีตินั้น เป็นการอ้างแขนผิดข้าง โดยการศึกษาด้วยการสร้างภาพสามมิติในระบบดิจิตัลที่ทันสมัยที่สุดพบว่า แขนที่งอนั้นสัดส่วนไม่เข้ากับร่างของมัมมี่เลย แต่แขนอีกข้างหนึ่งที่พบในบริเวณเดียวกันแต่เป็นแขนที่เหยียดตรง เข้ากับร่างของมัมมี่ได้ดีกว่า ซึ่งเมื่อประกอบเข้ากับร่างของมัมมี่แล้ว มีความยาวเกือบเท่ากับแขนซ้ายที่อยู่ติดกับร่างพอดี จึงสรุปได้ว่าแขนที่งอนั้นไม่ใช่แขนของ “สตรีที่อ่อนวัยกว่า” ดังนั้น “สตรีที่อ่อนวัยกว่า” จึงไม่ใช่เนเฟอตีติ